อย่างที่เห็นได้ชัดเจนว่าตลาดอีคอมเมิร์ซกำลังเติบโตแบบก้าวกระโดด เพราะไม่ว่าจะหันไปทางไหน ใครๆก็หันมาสั่งสินค้าออนไลน์ จึงเป็นช่องทางที่บริษัทยักษ์ใหญ่ผู้ให้บริการแพลทฟอร์มอีคอมเมิร์ซอย่าง Magento พยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์ซอฟแวร์ใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง เพื่อมารองรับการสร้างเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ของธุรกิจต่างๆ ทั้งนี้ Magento ได้ปล่อยโปรแกรมใหม่ ‘adobe commerce’ ออกมามอบโซลูชั่นสำหรับระดับองค์กรโดยเฉพาะ บทความนี้มาเปรียบเทียบฟีเจอร์ระหว่าง Magento และ Adobe Commerce ให้ผู้ประกอบการพิจารณากันชัดๆ
มาทำความรู้จัก Magento และ Adobe Commerce กันสักนิด
Magento เป็นแพลทฟอร์มอีคอมเมิร์ซแบบ open source ที่อนุญาตให้นักพัฒนาที่มีความเชี่ยวชาญ สามารถวางระบบโค้ด สร้างโครงสร้างเว็บไซต์ร้านค้าได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องเสียค่าใบอนุญาตหรือค่าธรรมเนียมการพัฒนา ช่วยบริหารจัดการร้านค้า และมอบการช่วยเหลือต่างๆที่ธุรกิจจำเป็นต้องมี ทั้งนี้ Magento ยังให้บริการการปรับแต่งธีมและส่วนขยายที่หลากหลายกว่าพันรายการ ต่อมาผู้ให้บริการได้พัฒนาสิ่งที่มาเติมเต็มให้ธุรกิจอีกขั้นด้วยเวอร์ชั่นสำหรับธุรกิจขนาดย่อมถึงขนาดกลางและระดับองค์กร หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘Adobe Commerce’ เพื่อเสริมศักยภาพธุรกิจมากกว่าเวอร์ชั่นเดิม
ฟีเจอร์ที่น่าสนใจของ Magento
● การบริหารจัดการรถเข็นสินค้า ระบบจ่ายเงิน การขนส่งสินค้าแบบครบวงจร
● รูปแบบเว็บไซต์ยืดหยุ่นรองรับการใช้งานบนอุปกรณ์มือถือ
● การขยายธุรกิจระดับนานาชาติ ระบบหลายภาษา และแปลงสกุลเงินอัตโนมัติตามพื้นที่ผู้ใช้งาน
● ระบบบริหารจัดการสินค้าและคงคลัง
● ระบบการซื้อขายสินค้าทันทีโดยไม่ต้องสร้างบัญชีผู้ใช้งาน
● ฟังก์ชั่นเสริมอื่นๆ
ฟีเจอร์ที่น่าสนใจของ Adobe Commerce
● ฟังก์ชั่นพิเศษที่ออกแบบมารองรับการทำงานแบบ B2B
● โปรแกรมสร้างเว็บเพจแบบ What-You-See-Is-What-You-Get (WYSIWYG) drag drop ที่จะแสดงผลทันที ให้มุมมองผลลัพธ์ที่ทำได้ทันที
● การดูพรีวิวและวางคอนเทนท์ก่อนเผยแพร่สู่สาธารณะ
● ตัวช่วยทำการตลาด
● ระบบการวิเคราะห์กลุ่มลูกค้า
● ระบบดูแลความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้า
● ระบบแนะนำสินค้าและบริการ
● โปรแกรมการติดตามประสิทธิภาพการทำงาน
● โปรแกรมวิเคราะห์ยอดขาย
● แดชบอร์ดติดตามผลลัพธ์อัจฉริยะ
● และอื่นๆอีกมากมาย
จะเห็นได้ว่าผู้ให้บริการแพลทฟอร์มอีคอมเมิร์ซได้พยายามพัฒนาฟังก์ชั่นต่างๆให้เข้ามาอำนวยสะดวกและเพิ่มประสบการณ์เหนือระดับให้กับผู้ใช้งานอย่างต่อเนื่อง แน่นอนว่าการเพิ่มศักยภาพธุรกิจให้รองรับความต้องการของลูกค้าได้อย่างไม่จำกัดย่อมต้องแลกมาด้วยการลงทุนที่สูงขึ้น เจ้าของกิจการจึงควรพิจารณาสิ่งที่ธุรกิจต้องการอย่างละเอียด เปรียบเทียบกับราคาที่ต้องจ่าย เพื่อผลลัพธ์ปลายทางที่ดีคุ้มค่าที่สุด